เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมี
กายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น
วิมุตตายตนะประการที่ 4
5. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้ไปแสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยาย
ธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และ
ไม่ได้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใด
อย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา
เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่เธอได้เรียนสมาธิ-
นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอด
ดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมี
กายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น
วิมุตตายตนะประการที่ 5
นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 5 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ ธรรมขันธ์ 5 ได้แก่

1. สีลขันธ์ (กองศีล)
2. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
3. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา)
4. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ)
5. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ)

นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 50 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :386 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

ธรรม 6 ประการ

[356] ธรรม 6 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 6 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 6 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 6 ประการที่ควรละ
ธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 6 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 6 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 6 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 6 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 6 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ สารณียธรรม1 6 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม2ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่
แจ้งและในที่ลับ3 นี้เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
2. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง
และในที่ลับ แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
3. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง
และในที่ลับ แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ฯลฯ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 324 หน้า 321 ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/12/427-428
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 324 หน้า 321 ในเล่มนี้
3 ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ในที่นี้หมายถึงทั้งต่อหน้าและลับหลัง (ที.ม.อ. 141/132)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :387 }