เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

อยู่ในฐานะครูแสดงธรรมแก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ 1
2. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่
ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้ง
ธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ที่เธอ
แสดงแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อม
เกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ 2
3. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่
ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุ
สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร
เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่
ตนได้เรียนมา ที่เธอสาธยายโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้
แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อ
มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ 3
4. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรม
ตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุตรึกตาม
ตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา ที่เธอตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจ
เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :385 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมี
กายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น
วิมุตตายตนะประการที่ 4
5. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้ไปแสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยาย
ธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และ
ไม่ได้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใด
อย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา
เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่เธอได้เรียนสมาธิ-
นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอด
ดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมี
กายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น
วิมุตตายตนะประการที่ 5
นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 5 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ ธรรมขันธ์ 5 ได้แก่

1. สีลขันธ์ (กองศีล)
2. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
3. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา)
4. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ)
5. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ)

นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 50 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :386 }