เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

(ช) ธรรม 5 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยญาณ1 5 ได้แก่
1. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า “สมาธิ2นี้มีสุขในปัจจุบัน และ
มีสุขเป็นวิบากต่อไป’
2. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้ เป็นอริยะ ปราศจาก
อามิส3’
3. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้มิใช่บุรุษชั่ว4เสพแล้ว’
4. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้ สงบ ประณีต ได้ด้วย
ความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และ
มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่ม(ธรรมที่เป็นข้าศึก) ห้ามกิเลส ด้วย
สสังขารจิต5’
5. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรานั้นมีสติ เข้าสมาธิ และเรา
มีสติออกจากสมาธินี้’
นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 5 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ วิมุตตายตนะ6(เหตุแห่งความหลุดพ้น) 5 ได้แก่
1. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง
ธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมใน
ธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้ง

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/27/35-36
2 สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาบัติ หรือมรรคสมาธิ (ที.ปา.อ. 355/261, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/27/9)
3 อามิส ในที่นี้หมายถึงกาม วัฏฏะ และโลก (ที.ปา.อ. 355/261, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/27/9)
4 มิใช่บุรุษชั่ว ในที่นี้หมายถึงมหาบุรุษมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น (ที.ปา.อ. 355/261)
5 สสังขารจิต แปลว่า จิตที่ถูกสังขารกระตุ้นเตือน ในที่นี้หมายถึงรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต (ที.ปา.อ.
355/261-262, ที.ปา.ฏีกา 355/359, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/27/9, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/27/14)
6 ดูเทียบข้อ 322 หน้า 313-314 ในเล่มนี้, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/26/33-35, ที.ปา.ฏีกา 355/359

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :384 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

อยู่ในฐานะครูแสดงธรรมแก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ 1
2. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่
ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้ง
ธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ที่เธอ
แสดงแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อม
เกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ 2
3. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่
ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุ
สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร
เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่
ตนได้เรียนมา ที่เธอสาธยายโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้
แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อ
มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ 3
4. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรม
ตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุตรึกตาม
ตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา ที่เธอตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจ
เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :385 }