เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

หลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดพยาบาท
3. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้น
ของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้น
เพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา
4. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่
เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการ
อรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่
ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอ
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย
5. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่
เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการ
สักกายนิโรธ (ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตของเธอชื่อว่าเป็น
จิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็น
ปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
นี้ คือธรรม 5 ประการที่แทงตลอดได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :383 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

(ช) ธรรม 5 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยญาณ1 5 ได้แก่
1. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า “สมาธิ2นี้มีสุขในปัจจุบัน และ
มีสุขเป็นวิบากต่อไป’
2. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้ เป็นอริยะ ปราศจาก
อามิส3’
3. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้มิใช่บุรุษชั่ว4เสพแล้ว’
4. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้ สงบ ประณีต ได้ด้วย
ความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และ
มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่ม(ธรรมที่เป็นข้าศึก) ห้ามกิเลส ด้วย
สสังขารจิต5’
5. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรานั้นมีสติ เข้าสมาธิ และเรา
มีสติออกจากสมาธินี้’
นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 5 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ วิมุตตายตนะ6(เหตุแห่งความหลุดพ้น) 5 ได้แก่
1. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง
ธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมใน
ธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้ง

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/27/35-36
2 สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาบัติ หรือมรรคสมาธิ (ที.ปา.อ. 355/261, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/27/9)
3 อามิส ในที่นี้หมายถึงกาม วัฏฏะ และโลก (ที.ปา.อ. 355/261, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/27/9)
4 มิใช่บุรุษชั่ว ในที่นี้หมายถึงมหาบุรุษมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น (ที.ปา.อ. 355/261)
5 สสังขารจิต แปลว่า จิตที่ถูกสังขารกระตุ้นเตือน ในที่นี้หมายถึงรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต (ที.ปา.อ.
355/261-262, ที.ปา.ฏีกา 355/359, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/27/9, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/27/14)
6 ดูเทียบข้อ 322 หน้า 313-314 ในเล่มนี้, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/26/33-35, ที.ปา.ฏีกา 355/359

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :384 }