เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

(จ) ธรรม 5 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ อินทรีย์1 5 ได้แก่

1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
3. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

นี้ คือธรรม 5 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม 5 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ ธาตุที่สลัด2 5 ได้แก่
1. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการกามทั้งหลาย จิตของ
เธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในเนกขัมมะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว
จากกามทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อน
ที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อม
ไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดกาม
ทั้งหลาย
2. เมื่อภิกษุมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการอพยาบาท
จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอพยาบาท
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่
ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท เธอ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 320 หน้า 310 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 321 หน้า 311-312 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :382 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

หลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดพยาบาท
3. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้น
ของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้น
เพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา
4. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่
เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการ
อรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่
ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอ
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย
5. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่
เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการ
สักกายนิโรธ (ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตของเธอชื่อว่าเป็น
จิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็น
ปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
นี้ คือธรรม 5 ประการที่แทงตลอดได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :383 }