เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

5. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้ คือธรรม 5 ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม 5 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยองค์ 5 ได้แก่
1. มีปีติแผ่ไป
2. มีสุขแผ่ไป
3. มีการกำหนดรู้จิตผู้อื่นแผ่ไป
4. มีแสงสว่าง1แผ่ไป
5. ปัจจเวกขณญาณเป็นนิมิต
นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 5 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อุปาทานขันธ์2 (กองแห่งความยึดมั่น) 5 ได้แก่

1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม 5 ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ นิวรณ์3 5 ได้แก่
1. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
2. พยาบาท (ความคิดร้าย)

เชิงอรรถ :
1 แสงสว่าง ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ (ที.ปา.อ. 355/261)
2 ดูเทียบข้อ 315 หน้า 300 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 315 หน้า 301 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :380 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 5 ประการ

3. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
4. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
5. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

นี้ คือธรรม 5 ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม 5 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู1 5 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน
พระศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของ
ภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตึงจิต
ดุจตะปูประการที่ 1
2. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ...
3. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ...
4. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะ
ต้องศึกษา) ...
5. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
กระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของ
ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้าง
ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต
ดุจตะปูประการที่ 5
นี้ คือธรรม 5 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 319 หน้า 308 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :381 }