เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร] ลัทธิกีดกันบาปด้วยตบะ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “นิโครธ เวลานี้ ท่านทั้งหลายสนทนากันด้วย
เรื่องอะไร เรื่องอะไรที่ท่านทั้งหลายสนทนากันค้างไว้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส
อย่างนี้ นิโครธปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พวกข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ณ สถานที่ให้เหยื่อ
นกยูง ที่ฝั่งสระโบกขรณีสุมาคธา จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ถ้าพระสมณโคดมจะพึง
เสด็จมาสู่บริษัทนี้ พวกเราจะพึงทูลถามปัญหานี้กับพระองค์ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคทรงใช้แนะนำเหล่าสาวก ทำให้เหล่าสาวกที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ ปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ อันเป็นที่พึ่ง
ชั้นสูง เรื่องนี้แลที่ข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้ ก็พอดีพระองค์เสด็จมาถึง”
[56] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นิโครธ ธรรมที่เราใช้แนะนำเหล่าสาวก
ทำให้เหล่าสาวกที่เราแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ ปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์อันเป็น
ที่พึ่งชั้นสูงนี้ เป็นธรรมที่ท่านผู้มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความถูกใจแตกต่างกัน มีความ
พอใจแตกต่างกัน มีความมุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์แตกต่างกัน รู้ได้ยาก
เชิญเถิด นิโครธ ท่านจงถามปัญหาเรื่องกีดกันบาปอย่างยิ่งในลัทธิอาจารย์ของตน
กับเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลัทธิกีดกันบาปด้วยตบะ ที่บริบูรณ์เป็นอย่างไร
ที่ไม่บริบูรณ์เป็นอย่างไร” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปริพาชกเหล่านั้นได้ส่ง
เสียงอื้ออึงขึ้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระสมณ-
โคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรงหยุดลัทธิของพระองค์ไว้ ทรงเปิดโอกาสให้ถาม
ลัทธิคนอื่นได้”
[57] ขณะนั้น นิโครธปริพาชกห้ามปริพาชกเหล่านั้นให้สงบเสียงแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ถือลัทธิ
กีดกันบาปด้วยตบะ มีการกีดกันบาปด้วยตบะเป็นแก่นสาร ยึดติดอยู่กับการกีดกัน
บาปด้วยตบะ การกีดกันบาปด้วยตบะ ที่บริบูรณ์เป็นอย่างไร ที่ไม่บริบูรณ์เป็น
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :38 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร] ลัทธิกีดกันบาปด้วยตบะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “นิโครธ บุคคลผู้บำเพ็ญตบะในโลกนี้ เป็นอเจลก
(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญ
ให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง
ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ
ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก
ไม่รับอาหารของคน 2 คนที่กำลังบริโภค ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับ
อาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับอาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับ
อาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวัน
ไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง
รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน 2 หลัง ยังชีพ
ด้วยข้าว 2 คำ ฯลฯ1 รับอาหารในเรือน 7 หลัง ยังชีพด้วยข้าว 7 คำ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย 1 ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย 2 ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย 7 ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 1 วัน กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน 2 วัน ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 7 วัน ถือการบริโภคอาหาร 15 วัน
ต่อมื้อ กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินโคมัยเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน
นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ
นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง2 นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้
กรอง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า
เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือถือการถอนผมและหนวด ยืนอย่างเดียว ไม่ยอมนั่ง
เดินกระโหย่ง คือถือการเดินกระโหย่ง (เหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) ถือการนอนบนหนาม

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.จตุกฺก. 21/198/230 ประกอบ
2 ผ้าคากรอง หมายถึงผ้าที่ถักทอด้วยหญ้าคา เป็นผ้าที่พวกฤๅษีใช้นุ่งห่ม (องฺ.ติก.อ. 2/94/297)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :39 }