เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 4 ประการ

(ง) ธรรม 4 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ โยคะ1 (เครื่องเกาะเกี่ยว) 4 ได้แก่

1. กามโยคะ (โยคะคือกาม)
2. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
3. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ)
4. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม 4 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ วิสังโยคะ2 (ความพราก) 4 ได้แก่

1. กามโยควิสังโยคะ (ความพรากจากกามโยคะ)
2. ภวโยควิสังโยคะ (ความพรากจากภวโยคะ)
3. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความพรากจากทิฏฐิโยคะ)
4. อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความพรากจากอวิชชาโยคะ)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม 4 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ สมาธิ 4 ได้แก่

1. หานภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายเสื่อม)
2. ฐิติภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายดำรง)
3. วิเสสภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายวิเศษ)
4. นิพเพธภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายชำแรกกิเลส)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม 4 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ3 4 ได้แก่
1. ธัมมญาณ (ความรู้ในธรรม)
2. อันวยญาณ (ความรู้ในการคล้อยตาม)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 312 หน้า 292 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 312 หน้า 292 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 310 หน้า 285 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :377 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 4 ประการ

3. ปริยญาณ (ความรู้ในการกำหนดจิตของผู้อื่น)
4. สัมมติญาณ (ความรู้ในสมมติ)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 4 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อริยสัจ 4 ได้แก่

1. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
2. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับแห่งทุกข์)
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งทุกข์)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 4 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ สามัญญผล1 (ผลแห่งความเป็นสมณะ) 4 ได้แก่
1. โสดาปัตติผล
2. สกทาคามิผล
3. อนาคามิผล
4. อรหัตตผล
นี้ คือธรรม 4 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 40 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 311 หน้า 285 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :378 }