เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 4 ประการ

(ข) ธรรม 4 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สติปัฏฐาน1 4 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้ คือธรรม 4 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 4 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อาหาร2 4 ได้แก่

1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ทั้งหยาบและละเอียด
2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม 4 ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ โอฆะ3 (ห้วงน้ำคือกิเลส) 4 ได้แก่

1. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม)
2. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
3. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ)
4. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่ควรละ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 306 หน้า 276 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 311 หน้า 287 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 311 หน้า 292 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :376 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 4 ประการ

(ง) ธรรม 4 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ โยคะ1 (เครื่องเกาะเกี่ยว) 4 ได้แก่

1. กามโยคะ (โยคะคือกาม)
2. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
3. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ)
4. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม 4 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ วิสังโยคะ2 (ความพราก) 4 ได้แก่

1. กามโยควิสังโยคะ (ความพรากจากกามโยคะ)
2. ภวโยควิสังโยคะ (ความพรากจากภวโยคะ)
3. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความพรากจากทิฏฐิโยคะ)
4. อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความพรากจากอวิชชาโยคะ)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม 4 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ สมาธิ 4 ได้แก่

1. หานภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายเสื่อม)
2. ฐิติภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายดำรง)
3. วิเสสภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายวิเศษ)
4. นิพเพธภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายชำแรกกิเลส)

นี้ คือธรรม 4 ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม 4 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ3 4 ได้แก่
1. ธัมมญาณ (ความรู้ในธรรม)
2. อันวยญาณ (ความรู้ในการคล้อยตาม)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 312 หน้า 292 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 312 หน้า 292 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 310 หน้า 285 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :377 }