เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 3 ประการ

(ฉ) ธรรม 3 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ ธาตุที่สลัด 3 ได้แก่
1. ธาตุที่สลัดกามคือเนกขัมมะ1
2. ธาตุที่สลัดรูปคืออรูป2
3. การสลัดสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งที่อาศัยกันและ
กันเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือนิโรธ3
นี้ คือธรรม 3 ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม 3 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ 3 ได้แก่

1. อตีตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต)
2. อนาคตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต)
3. ปัจจุปปันนังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน)

นี้ คือธรรม 3 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 3 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ ธาตุ4 3 ได้แก่

1. กามธาตุ (ธาตุคือกามภพ)
2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
3. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)

นี้ คือธรรม 3 ประการที่ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
1 เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงอนาคามิมรรค (ที.ม.อ. 353/259)
2 อรูป ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรคในอรูปภพ (ที.ม.อ. 353/259)
3 นิโรธ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (ที.ม.อ. 353/259)
4 ดูเทียบข้อ 305 หน้า 262 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :374 }