เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 2 ประการ

(ฉ) ธรรม 2 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ
1. ธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
2. ธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
นี้คือธรรม 2 ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม 2 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ 2 ได้แก่

1. ขยญาณ (ความรู้ในการสิ้นกิเลส)
2. อนุปปาทญาณ (ความรู้ในการไม่เกิดกิเลส)1

นี้ คือธรรม 2 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 2 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ ธาตุ 2 ได้แก่
1. สังขตธาตุ (ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
2. อสังขตธาตุ (ธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
นี้ คือธรรม 2 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 2 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ

1. วิชชา (ความรู้แจ้ง)
2. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)2

นี้ คือธรรม 2 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 20 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 304 หน้า 258 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 304 หน้า 258 ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) 20/91/107

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :371 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 3 ประการ

ธรรม 3 ประการ

[353] ธรรม 3 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 3 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 3 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 3 ประการที่ควรละ
ธรรม 3 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 3 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 3 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 3 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 3 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 3 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 3 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ

1. สัปปุริสสังเสวะ___(การคบหาสัตบุรุษ)
2. สัทธัมมัสสวนะ___(การฟังพระสัทธรรม)
3. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ___(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)1

นี้ คือธรรม 3 ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม 3 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สมาธิ2 3 ได้แก่
1. สมาธิที่มีทั้งวิตก และมีวิจาร
2. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร
3. สมาธิที่ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร
นี้ คือธรรม 3 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 3 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ เวทนา3 3 ได้แก่
1. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 311 หน้า 286 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 305 หน้า 273 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 305 หน้า 266 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :372 }