เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 10

9. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน1อย่างยิ่ง
ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ
คำที่พูดแม้นาน นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
10. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ
เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

2
[346] กสิณายตนะ2 (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) 10
1. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ

2. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ...
3. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ...
4. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ...
5. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ...
6. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ...
7. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ...
8. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ...

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 331 หน้า 334 ในเล่มนี้
2 บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดยบริกรรมกสิณ
เป็นอารมณ์ คำว่า กสิณ หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิ (ที.ปา.อ. 346/247, องฺ.ทสก.อ.
3/25/333, อง.ทสก.ฏีกา 3/25/395) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/25/56

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :361 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 10

9. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ...
10. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ

3
[347] อกุศลกรรมบถ1(ทางแห่งอกุศลกรรม) 10

1. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
2. อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
3. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
4. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
5. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
6. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ)
7. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
8. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
9. พยาบาท (ความคิดร้าย)
10. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

4
กุศลกรรมบถ2 (ทางแห่งกุศลกรรม) 10

1. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์)
2. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์)
3. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
4. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
5. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
6. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
7. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/178/330
2 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/178/330-331

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :362 }