เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 9

2
อาฆาตปฏิวินยะ1 (อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต) 9
1. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน2’
2. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
3. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
4. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น
ทีรักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
5. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้
เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
6. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่
รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบ
พอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
7. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ที่ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
8. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่
เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ. ทสก. (แปล) 24/80/178-179
2 ดูประกอบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/80/178-179 ซึ่งมีสำนวนบาลีต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ ในเล่ม 24
ใช้ว่า “อนตฺถํ เม อจริ, ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา”ติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ. แต่ในที่นี้ใช้ว่า “อนตฺถํ เม อจรีติ ตํ กุเตตฺถ
ลพฺภา”ติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :353 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 9

9. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่
รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’

3
[341] สัตตาวาส1 (ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์) 9
1. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพ
บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ 1
2. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ
ชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌาน นี้เป็น
สัตตาวาสที่ 2
3. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ
ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ 3
4. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก
เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นสัตตาวาสที่ 4
5. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้นอสัญญี-
สัตตพรหม นี้เป็นสัตตาวาสที่ 5
6. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ 6
7. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจาญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็น
สัตตาวาสที่ 7

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ข้อ 359 หน้า 420ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) 10/127/72, องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/44/67

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :354 }