เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 8

5. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะที่เศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบา ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง’ เธอจึงเริ่มปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ 5
6. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา
เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต
บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ 6
7. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมีอาพาธ
ขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้น อย่ากระนั้น
เลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร
ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ 7
8. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่าง
นี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธ
ของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ 8

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :344 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 8

6
[336] ทานวัตถุ1(เหตุแห่งการให้ทาน) 8
1. ให้ทานเพราะประสบเข้า2
2. ให้ทานเพราะกลัว3
3. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
4. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
5. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
6. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้
การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้
ไม่ควร’
7. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป’
8. ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต4

7
[337] ทานุปปัตติ5 (ผลที่เกิดจากการให้ทาน) 8
1. บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวกขัตติย

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/31/287
2 ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่าเขามาหา ให้รอสักครู่ก็สามารถให้ทานได้ ไม่รู้สึกหนักใจที่
จะถวายทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/31/253)
3 ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทาน เพราะกลัวตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/31/253)
4 ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญ
สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน
ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/31/253)
5 ดูเทียบ องฺ.อฏฐก. (แปล) 23/35/292

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :345 }