เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 8

3
ทักขิเณยยบุคคล1 (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) 8
1. พระโสดาบัน
2. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
3. พระสกทาคามี
4. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
5. พระอนาคามี
6. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
7. พระอรหันต์
8. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล

4
[334] กุสีตวัตถุ2 (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) 8
1. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 1
2. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา
ทำงานอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอน
เสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 2
3. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง เมื่อ
เราเดินทางอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 3

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) 23/9/448, อภิ.ปุ. (แปล) 36/207/108
2 ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/80/400-402, อภิ.วิ. (แปล) 35/953/610

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :341 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 8

4. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเรา
เดินทางอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 4
5. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว
ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 5
6. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา
เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต
บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่
การงาน จะเหมือนถั่วราชมาสชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เรา
จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีต
วัตถุประการ ที่ 6
7. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี
อาพาธ ขึ้นเล็กน้อยแล้ว มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ 7
8. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้
ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กายของเรายัง
อ่อนแอไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย
ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ 8

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :342 }