เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 8

3. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย1
4. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ2
5. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา3
6. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา4
7. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ5
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ 7 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด 7 จบ
ภาณวารที่ 2 จบ

สังคีติหมวด 8

[333] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ 8 ประการที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1-5 อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้ว ในกรณีที่มีผู้
โจทภิกษุด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อมิให้ใคร ๆ โจทเธอด้วยอาบัติ
ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ
เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคล
หลายฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน
พยานแล้ว เห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม
ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้า
กลบไว้ ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้จะใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุง
โกสัมพี (วิ.ม. 5/400-401/288-291/333-335) และ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) 6/185-212/218-243,
วิ.ป. (แปล) 8/275/370

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :339 }