เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

11
ทักขิเณยยบุคคล (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) 7

1. อุภโตภาควิมุต1 (ผู้หลุดพ้นทั้ง 2 ส่วน)
2. ปัญญาวิมุต2 (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
3. กายสักขี3 (ผู้เป็นพยานในนามกายด้วยกาย)
4. ทิฏฐิปัตตะ4 (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
5. สัทธาวิมุต5 (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)
6. ธัมมานุสารี6 (ผู้แล่นไปตามธรรม)
7. สัทธานุสารี7 (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)

12
อนุสัย8 (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) 7

1. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม)
2. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย)
3. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด)
4. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย)
5. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)
6. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)
7. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง)

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
3 ดูเชิงอรรถที่ 4 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
4 ดูเชิงอรรถที่ 5 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
5 ดูเชิงอรรถที่ 6 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
6 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 150 หน้า 112 ในเล่มนี้
7 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 150 หน้า 112 ในเล่มนี้
8 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/11/17, อภิ.วิ. (แปล) 35/949/605-606

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :337 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

13
สังโยชน์1 (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) 7

1. อนุนยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินดี2)
2. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย)
3. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด)
4. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย)
5. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว)
6. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ)
7. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)

14
อธิกรณสมถธรรม3 (ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์) 7
เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์4ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
1. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย5
2. สงฆ์พึงให้สติวินัย6

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/8/14
2 ความยินดี หมายถึงกามราคะ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/8/160)
3 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/84/179
4 อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี 4 อย่าง คือ (1) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยวกับ
พระธรรมวินัย (2) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (3) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง
อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (4) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ
เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. 2/15/13) และดู วิ.จู. (แปล) 6/215/245-246)
5-6 สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า คือต้องพร้อมทั้ง 4 พร้อม คือ (1) พร้อมหน้าสงฆ์
ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วม ประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้แต่ละกรณี (2) พร้อมหน้าบุคคลได้แก่คู่กรณี
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (3) พร้อมหน้าวัตถุ ได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย
(4) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย
สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศให้ทราบว่า พระอรหันต์เป็นพระอริยะ ผู้มีสติสมบูรณ์
เป็นวิธีระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันต์ เป็นการบอกให้รู้ว่า ใครจะโจทพระอรหันต์
ไม่ได้ (วิ.ม. (แปล) 5/400-401/288-291) และดูเทียบ วิ.จู. (แปล) 6/185-212/218-243,
วิ.ป. (แปล) 8/275/370

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :338 }