เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

2. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือพวกเทพ
ชั้นพรหมกายิกา1 (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 2
3. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวก
เทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 3
4. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก
เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ 4
5. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน2โดยกำหนดว่า “อากาศ
หาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 5
6. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน3โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้”
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 6
7. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน4โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้เป็นวิญญาณฐิติ
ที่ 7

เชิงอรรถ :
1 เทพชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) 3 ชั้น คือ (1) พรหมปาริสัชชา
(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (2) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (3) มหาพรหมา (พวกท้าว
มหาพรหม) (ที.ม.อ. 127/109-110)
2 อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศ คือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น
ที่ 1 ของอรูปฌาน 4 (ที.สี.อ. 414/308)
3 วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ 2 ของ
อรูปฌาน 4 (ที.สี.อ. 414/308)
4 อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร (ความว่าง) เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียก
อีกอย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ชั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญาเวทยิต-
นิโรธบ้าง (ที.สี.อ. 414/308)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :336 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

11
ทักขิเณยยบุคคล (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) 7

1. อุภโตภาควิมุต1 (ผู้หลุดพ้นทั้ง 2 ส่วน)
2. ปัญญาวิมุต2 (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
3. กายสักขี3 (ผู้เป็นพยานในนามกายด้วยกาย)
4. ทิฏฐิปัตตะ4 (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
5. สัทธาวิมุต5 (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)
6. ธัมมานุสารี6 (ผู้แล่นไปตามธรรม)
7. สัทธานุสารี7 (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)

12
อนุสัย8 (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) 7

1. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม)
2. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย)
3. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด)
4. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย)
5. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)
6. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)
7. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง)

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
3 ดูเชิงอรรถที่ 4 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
4 ดูเชิงอรรถที่ 5 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
5 ดูเชิงอรรถที่ 6 ข้อ 150 หน้า 111 ในเล่มนี้
6 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 150 หน้า 112 ในเล่มนี้
7 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 150 หน้า 112 ในเล่มนี้
8 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/11/17, อภิ.วิ. (แปล) 35/949/605-606

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :337 }