เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

2. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม1 และไม่ปราศจาก
ความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
3. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก2 และไม่ปราศจาก
ความรักในการกำจัดความอยากต่อไป
4. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจากความรักใน
การหลีกเร้นต่อไป
5. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ปราศจาก
ความรักในการปรารภความเพียรต่อไป
6. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน3 และไม่ปราศจาก
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป
7. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ4 และไม่ปราศจาก
ความรักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป

8
สัญญา5 7
1. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
2. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)

เชิงอรรถ :
1 การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” เป็นชื่อของวิปัสสนา (ที.ปา.อ. 331/239,
องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)
2 การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณที่
พิจารณาเห็นความดับ) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192) หรือด้วยอำนาจวิปัสสนา-
ญาณมีวิราคานุปัสสนา เป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา 331/326)
3 สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญา กล่าวคือสติและสัมปชัญญะ
(องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/193)
4 การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า “ทิฏฐิปฏิเวธ” หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นด้วยมรรค)
กล่าวคือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/193)
5 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/57/124

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :334 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

3. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
4. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ)
5. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
6. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
7. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)

9
พละ1 7

1. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
2. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
3. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
4. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
5. สติพละ (กำลังคือสติ)
6. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
7. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

10
[332] วิญญาณฐิติ2(ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) 7

1. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก3
และวินิปาติกะบางพวก4 นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 1

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/3/4
2 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/127/72-73
3 เทพบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ 6 คือ (1) ชั้นจาตุมหาราช (2) ชั้นดาวดึงส์
(3) ชั้นยามา (4) ชั้นดุสิต (5) ชั้นนิมมานรดี (6) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. 2/127/109)
4 วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ 4 เช่น ยักษิณีผู้เป็นมารดาของ
อุตตระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน
คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วยติเหตุกะ
ทุเหตุกะ และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มาก เหมือนพวกเทพบางพวก
ได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ เช่น การ
บรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ที.ม.อ. 127/109,44-45/180)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า:335 }