เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

5. เป็นผู้ปรารภความเพียร 6. เป็นผู้มีสติมั่นคง
7. เป็นผู้มีปัญญา

6
สัปปุริสธรรม1 7
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

1. เป็นธัมมัญญ (ผู้รู้จักเหตุ)
2. เป็นอัตถัญญ (ผู้รู้จักผล)
3. เป็นอัตตัญญ (ผู้รู้จักตน)
4. เป็นมัตตัญญ (ผู้รู้จักประมาณ)
5. เป็นกาลัญญ (ผู้รู้จักกาลเวลา)
6. เป็นปริสัญญ (ผู้รู้จักชุมชน)
7. เป็นปุคคลัญญ (ผู้รู้จักบุคคล)

7
[331] นิททสวัตถุ2(เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้มีอายุไม่ถึง 10 ปี) 7
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา3 และไม่ปราศจาก
ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป4

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก.(แปล) 23/68/143
2 นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” ซึ่งแปลว่า มีอายุไม่ถึง 10 ปี คำนี้เป็นคำที่พวก
เดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด 12 ปี ถ้าตายลงเมื่อถึง 10 ปี เรียกผู้นั้นว่า
“นิททส” คือเมื่อมาเกิดอีก จะมีอายุไม่ถึง 10 ปี และอาจไม่ถึง 9 ปี - 1 ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้
หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียวโดย
มีเงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม 7 ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
(ที.ปา.อ. 331/238, องฺ.สตฺตก.อ. 320/164-165)
3 สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์และถูกต้อง (องฺ.
สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)
4 ไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่เนื่องกัน
ไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :333 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

2. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม1 และไม่ปราศจาก
ความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
3. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก2 และไม่ปราศจาก
ความรักในการกำจัดความอยากต่อไป
4. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจากความรักใน
การหลีกเร้นต่อไป
5. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ปราศจาก
ความรักในการปรารภความเพียรต่อไป
6. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน3 และไม่ปราศจาก
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป
7. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ4 และไม่ปราศจาก
ความรักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป

8
สัญญา5 7
1. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
2. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)

เชิงอรรถ :
1 การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” เป็นชื่อของวิปัสสนา (ที.ปา.อ. 331/239,
องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)
2 การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณที่
พิจารณาเห็นความดับ) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192) หรือด้วยอำนาจวิปัสสนา-
ญาณมีวิราคานุปัสสนา เป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา 331/326)
3 สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญา กล่าวคือสติและสัมปชัญญะ
(องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/193)
4 การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า “ทิฏฐิปฏิเวธ” หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นด้วยมรรค)
กล่าวคือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/193)
5 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/57/124

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :334 }