เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

3
ธรรมที่เป็นบริขารแห่งสมาธิ1 7

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

4
อสัทธรรม2 7
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

1. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา 2. เป็นผู้ไม่มีหิริ
3. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ 4. เป็นผู้มีสุตะน้อย
5. เป็นผู้เกียจคร้าน 6. เป็นผู้มีสติหลงลืม
7. เป็นผู้มีปัญญาทราม

5
สัทธรรม3 7
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา 2. เป็นผู้มีหิริ
3. เป็นผู้มีโอตตัปปะ 4. เป็นพหูสูต

เชิงอรรถ :
1 บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบแห่งมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/44-45/183) และดูเทียบ
องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/45/68-69
2 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/93/183
3 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/94/184

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :332 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

5. เป็นผู้ปรารภความเพียร 6. เป็นผู้มีสติมั่นคง
7. เป็นผู้มีปัญญา

6
สัปปุริสธรรม1 7
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

1. เป็นธัมมัญญ (ผู้รู้จักเหตุ)
2. เป็นอัตถัญญ (ผู้รู้จักผล)
3. เป็นอัตตัญญ (ผู้รู้จักตน)
4. เป็นมัตตัญญ (ผู้รู้จักประมาณ)
5. เป็นกาลัญญ (ผู้รู้จักกาลเวลา)
6. เป็นปริสัญญ (ผู้รู้จักชุมชน)
7. เป็นปุคคลัญญ (ผู้รู้จักบุคคล)

7
[331] นิททสวัตถุ2(เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้มีอายุไม่ถึง 10 ปี) 7
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา3 และไม่ปราศจาก
ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป4

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก.(แปล) 23/68/143
2 นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” ซึ่งแปลว่า มีอายุไม่ถึง 10 ปี คำนี้เป็นคำที่พวก
เดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด 12 ปี ถ้าตายลงเมื่อถึง 10 ปี เรียกผู้นั้นว่า
“นิททส” คือเมื่อมาเกิดอีก จะมีอายุไม่ถึง 10 ปี และอาจไม่ถึง 9 ปี - 1 ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้
หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียวโดย
มีเงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม 7 ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
(ที.ปา.อ. 331/238, องฺ.สตฺตก.อ. 320/164-165)
3 สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์และถูกต้อง (องฺ.
สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)
4 ไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่เนื่องกัน
ไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :333 }