เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

ธรรมหมวดละ 7 ประการ คืออะไร
คือ

1
อริยทรัพย์1 7

1. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
2. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
3. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ)
4. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
5. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
6. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
7. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)

2
โพชฌงค์2 7

1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/5/8
2 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/102/243

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :331 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

3
ธรรมที่เป็นบริขารแห่งสมาธิ1 7

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

4
อสัทธรรม2 7
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

1. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา 2. เป็นผู้ไม่มีหิริ
3. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ 4. เป็นผู้มีสุตะน้อย
5. เป็นผู้เกียจคร้าน 6. เป็นผู้มีสติหลงลืม
7. เป็นผู้มีปัญญาทราม

5
สัทธรรม3 7
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา 2. เป็นผู้มีหิริ
3. เป็นผู้มีโอตตัปปะ 4. เป็นพหูสูต

เชิงอรรถ :
1 บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบแห่งมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/44-45/183) และดูเทียบ
องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/45/68-69
2 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/93/183
3 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/94/184

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :332 }