เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 6

20
[328] สตตวิหารธรรม1 (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระขีณาสพ) 6
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
2. ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
3. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
4. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
5. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
6. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่

21
[329] อภิชาติ2 6
1. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ (เกิดในตระกูลต่ำ) ประพฤติ
ธรรมดำ
2. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว
3. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว
4. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ (เกิดในตระกูลสูง) ประพฤติธรรมดำ
5. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว
6. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 356 หน้า 394 ในเล่มนี้
2 อภิชาติ ในที่นี้หมายถึงการกำหนดหมายชนเป็นชั้น เป็นกลุ่ม เช่น หมู่คนที่ประพฤติอย่างนี้ ๆ กำหนด
เรียกอย่างนี้ ๆ (ที.สี.อ. 168/147) หรือหมายถึงชาติกำเนิด (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/57/139, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/57/150) และดู ที.สี. (แปล) 9/168/55, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/57/545

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :329 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 7

22
นิพเพธภาคิยสัญญา1 (กำหนดหมายในญาณอันเป็นส่วนชำแรกกิเลส) 6
1. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
2. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร)
3. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
4. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
5. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
6. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ 6 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด 6 จบ

สังคีติหมวด 7

[330] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ 7 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/56/123

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :330 }