เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 6

ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
5. มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ที่ไม่
ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
6. มีอริยทิฏฐิ1อันเป็นธรรมเครื่องนำออก2เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

15
[325] วิวาทมูล3 (มูลเหตุแห่งวิวาท) 6
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุ
นั้นอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่
อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีความเคารพ

เชิงอรรถ :
1 อริยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/11/103)
2 อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ในที่นี้หมายถึงมรรค 4 (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
และอรหัตตมรรค) ที่ตัดมูลเหตุแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วออกจากวัฏฏะได้ (อภิ.สงฺ. (แปล)
34/1295/327, อภิ.สงฺ.อ. 83-100/98)
3 ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/36/484-485

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :322 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 6

ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่อย่างไม่มีความเคารพ อยู่อย่างไม่มี
ความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำ
เกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้น
ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คน
หมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณา
เห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก ท่านทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล
ถ้าท่านทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก ท่านทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป
นั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้
และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
2. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
3. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
4. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
5. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ1 ฯลฯ
6. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความ
ถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นอยู่อย่างไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง

เชิงอรรถ :
1 เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมายถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลพวกที่ถือนัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว
ไม่มีผล) อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย) และอกิริยวาทะ
(ลัทธิที่ถือว่า การกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม)
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/36/117) และดูเทียบ ที.สี. (แปล) 9/165/53, 167/54,173/57

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :323 }