เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 6

11
โสมนัสสูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส) 6
1. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
2. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
3. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
4. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
5. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
6. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส

12
โทมนัสสูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส) 6
1. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
2. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
3. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
4. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
5. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
6. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส

13
อุเปกขูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา) 6
1. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
2. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
3. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :320 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 6

4. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
5. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
6. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

14
สารณียธรรม1 (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึง) 6
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม2 ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
2. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
3. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
4. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก3ลาภทั้งหลายอันประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภคกับ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/12/427
2 เมตตากายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา เมตตาวจีกรรมและ
เมตตามโนกรรม ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/11/97)
3 ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า “จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/11/99,
องฺ.ฉกฺก. ฏีกา 3/11/111)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :321 }