เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัด
พยาบาท
3. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิตของเธอ
จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้นของเธอชื่อว่า
เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อน
ที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่
เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา
4. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการอรูป จิตของ
เธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตนั้นของเธอชื่อว่า
เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่
เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย
5. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ1 จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ
(ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป
ในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว

เชิงอรรถ :
1 มนสิการสักกายะในที่นี้หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ)ผู้เห็นนิพพาน
ด้วยอรหัตตมรรคและอรหัตตผล ออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตไปยังอุปาทานขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตายังมี
อยู่หรือไม่’ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/200/83)
อนึ่ง 4 วิธีแรกดังกล่าวมาแล้ว เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธี
ที่ 5 นี้เป็นวิธีของท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/200/92)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :312 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้น
แล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
สักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดสักกายะ

25
[322] เหตุแห่งวิมุตติ1 5
1. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดงธรรม2
แก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ3 รู้แจ้งธรรม4ในธรรมนั้น
ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง
แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ 1
2. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ฯลฯ
3. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม
ที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตน
ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/26/33-35
2 ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ 4 (ที.ปา.ฏีกา 322/316, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/26/8)
3 รู้แจ้งอรรถ ในที่นี้หมายถึงรู้ความหมายแห่งบาลีนั้นว่า ศีลมาในที่นี้ สมาธิมาในที่นี้ ปัญญามาในที่นี้
(ที.ปา.ฏีกา 322/316, องฺ.ติก.อ. 2/43/152-153, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/26/8)
4 รู้แจ้งธรรม ในที่นี้หมายถึงรู้บาลีคือพระพุทธพจน์ เช่น ทรงจำบาลีที่ให้รู้ความหมายได้อย่างถูกต้อง
(ที.ปา.ฏีกา 322/316, องฺ.ติก.อ. 3/43/152-153, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/26/8)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :313 }