เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

24
[321] ธาตุ1ที่สลัด2 5
1. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการกามทั้งหลาย3 จิตของเธอ
ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่
เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในเนกขัมมะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกาม
ทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ4และความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้น5 ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย
2. เมื่อภิกษุมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการอพยาบาท จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอพยาบาท จิตนั้นของเธอ
ชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอ

เชิงอรรถ :
1 ธาตุในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ เป็นสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ)
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/200/82) หรือสภาวะที่ปราศจากชีวะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/200/91)
2 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/200/340-342
3 มนสิการกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวิธีการที่ท่านผู้ออกจากอสุภฌาน (เพ่งความไม่งาม) แล้วส่งจิตคิด
ถึงกามคุณ เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือน
คนจับงูพิษ เพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (ที.ปา.อ. 321/230, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/200/91)
4 อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ 4 คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ทิฏฐาสวะ
(อาสวะคือทิฏฐิ) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) (สํ.สฬา.อ. 3/53-62/14, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/58/140)
5 ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ในที่นี้หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบาก
กรรมที่ก่อความคับแค้นให้ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ อันเป็นผลมาจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ.
3/58/140, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/58/154)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :311 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัด
พยาบาท
3. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิตของเธอ
จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้นของเธอชื่อว่า
เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อน
ที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่
เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา
4. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการอรูป จิตของ
เธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตนั้นของเธอชื่อว่า
เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่
เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย
5. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ1 จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ
(ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป
ในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว

เชิงอรรถ :
1 มนสิการสักกายะในที่นี้หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ)ผู้เห็นนิพพาน
ด้วยอรหัตตมรรคและอรหัตตผล ออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตไปยังอุปาทานขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตายังมี
อยู่หรือไม่’ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/200/83)
อนึ่ง 4 วิธีแรกดังกล่าวมาแล้ว เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธี
ที่ 5 นี้เป็นวิธีของท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/200/92)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :312 }