เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

20
[320] วินิพันธา1(กิเลสเครื่องผูกใจ) 5
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่
ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ 1
2. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในกาย ฯลฯ
3. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในรูป ฯลฯ
4. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
5. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจะเป็นเทพเจ้า หรือ
เทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความ
ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ
พรหมจรรย์นี้ เราจะเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ ย่อมไม่
น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส
เครื่องผูกใจประการที่ 5

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/185-189/197-203, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/206/348-350

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :309 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

21
อินทรีย์1 5
1. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือตา)
2. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือหู)
3. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือจมูก)
4. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือลิ้น)
5. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกาย)

22
อินทรีย์2 5 อีกนัยหนึ่ง

1. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขกาย)
2. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์กาย)
3. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขใจ)
4. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์ใจ)
5. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)

23
อินทรีย์3 5 อีกนัยหนึ่ง

1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
3. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/1012/660
2 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/220/199-200
3 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/220/200-201

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :310 }