เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

2. เป็นผู้มีอาพาธน้อย โรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร
3. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงในพระศาสดา
หรือเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
5. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

17
[318] สุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) 5

1. อวิหา 2. อตัปปา
3. สุทัสสา 4. สุทัสสี
5. อกนิฏฐา

18
พระอนาคามี1 5

1. อันตราปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง)
2. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งไปแล้ว)
3. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก)
4. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก)
5. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/88/316

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :307 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

19
[319] กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู1 5
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา2 จิตของ
ภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 1
2. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ
3. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้อง
ศึกษา) ฯลฯ
5. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ
มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 5

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/14/22-23
2 ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่า พระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยลักษณะมหา-
บุรุษ 32 ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบันได้
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/205/85)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :308 }