เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

15
ธรรมสำหรับผู้เป็นโจทก์1 5
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการไว้มั่นในตนแล้ว
จึงโจทผู้อื่น คือ
1. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร
2. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
3. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
4. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำอันไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
5. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการนี้ไว้มั่นในตน
แล้วจึงโจทผู้อื่น

16
[317] องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียร2 5
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/167/277
2 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/53/92

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :306 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

2. เป็นผู้มีอาพาธน้อย โรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร
3. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงในพระศาสดา
หรือเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
5. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

17
[318] สุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) 5

1. อวิหา 2. อตัปปา
3. สุทัสสา 4. สุทัสสี
5. อกนิฏฐา

18
พระอนาคามี1 5

1. อันตราปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง)
2. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งไปแล้ว)
3. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก)
4. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก)
5. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/88/316

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :307 }