เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

2. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษ
ประการที่ 2 แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
3. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่
แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ 3 แห่งศีลวิบัติของบุคคล
ผู้ทุศีล
4. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ 4 แห่ง
ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
5. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ 5 แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล

14
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล1 5
1. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมี
ความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 1 แห่งศีลสมบัติของ
บุคคลผู้มีศีล
2. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ 2 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
3. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท
ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3
แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
4. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ 4 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
5. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 5 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/150/94

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :305 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

15
ธรรมสำหรับผู้เป็นโจทก์1 5
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการไว้มั่นในตนแล้ว
จึงโจทผู้อื่น คือ
1. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร
2. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
3. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
4. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำอันไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
5. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการนี้ไว้มั่นในตน
แล้วจึงโจทผู้อื่น

16
[317] องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียร2 5
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/167/277
2 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/53/92

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :306 }