เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)

2
อุปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) 5

1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

3
กามคุณ1 5

1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/63/572

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :300 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

4
คติ1(ภพที่สัตว์ไปเกิด) 5

1. นิรยะ (นรก)
2. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน)
3. เปตติวิสัย (แดนเปรต)
4. มนุสสะ (มนุษย์)
5. เทวะ (เทวดา)

5
มัจฉริยะ2(ความตระหนี่) 5

1. อาวาสมัจฉริยะ (ความตระหนี่อาวาส)
2. กุลมัจฉริยะ (ความตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ความตระหนี่ลาภ)
4. วัณณมัจฉริยะ (ความตระหนี่วรรณะ)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม)

6
นิวรณ์3(สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดี) 5

1. กามฉันทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความพอใจในกาม)
2. พยาบาทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความคิดร้าย)
3. ถีนมิทธนิวรณ์ (นิวรณ์คือความหดหู่และเซื่องซึม)
4. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (นิวรณ์คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
5. วิจิกิจฉานิวรณ์ (นิวรณ์คือความลังเลสงสัย)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/39/49
2 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/893/561
3 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/58/223, อภิ.วิ. (แปล) 35/941/595

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :301 }