เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

45
อนริยโวหาร1 4 อีกนัยหนึ่ง
1. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
2. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
3. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
4. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้

46
อริยโวหาร2 4 อีกนัยหนึ่ง
1. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
2. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
3. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
4. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้

47
[314] บุคคล3 4
1. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
2. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
3. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
4. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เขาผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุขมีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/252/369
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/253/370
3 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/198/303, อภิ.ปุ. (แปล) 36/174-177/206-209

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :297 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

48
บุคคล1 4 อีกนัยหนึ่ง

1. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
2. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
3. เป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
4. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

49
บุคคล2 4 อีกนัยหนึ่ง

1. ตโม ตมปรายโน (ผู้มืดมา และมืดไป)
2. ตโม โชติปรายโน (ผู้มืดมา แต่สว่างไป)
3. โชติ ตมปรายโน (ผู้สว่างมา แต่มืดไป)
4. โชติ โชติปรายโน (ผู้สว่างมา และสว่างไป)

50
บุคคล34 อีกนัยหนึ่ง

1. สมณอจละ (สมณะผู้ไม่หวั่นไหว)
2. สมณปทุมะ (สมณะเหมือนดอกปทุม)
3. สมณปุณฑริกะ (สมณะเหมือนดอกบุณฑริก)
4. สมเณสุ สมณสุขุมาละ (สมณะผู้ละเอียดอ่อน ในหมู่สมณะ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/96/145
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/85/129, อภิ.ปุ. (แปล) 36/168/201-202
3 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/87/132

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :298 }