เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

39
[313] ทักขิณาวิสุทธิ1(ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา) 4

1. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
(ผู้รับ)
2. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
3. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
4. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก

40
สังคหวัตถุ2(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) 4

1. ทาน (การให้)
2. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
4. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)

41
อนริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้มิใช่อริยะ) 4

1. มุสาวาท (พูดเท็จ)
2. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด)
3. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
4. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/78/123
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/32/51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :295 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

42
อริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้เป็นอริยะ) 4

1. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
2. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
3. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
4. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)

43
อนริยโวหาร1 4 อีกนัยหนึ่ง

1. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
2. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง
3. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
4. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้

44
อริยโวหาร2 4 อีกนัยหนึ่ง

1. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
2. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
3. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
4. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/250/368
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/251/369

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :296 }