เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

28
[312] ปัญหาพยากรณ์1 4

1. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว)
2. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม)
3. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ)
4. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)

29
กรรม2 4

1. กรรมดำ มีวิบากดำ
2. กรรมขาว มีวิบากขาว
3. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว
4. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

30
สัจฉิกรณียธรรม3(ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง) 4

1. ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ
2. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ
3. วิโมกข์ 8 ควรทำให้แจ้งด้วยกาย
4. ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/42/70
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/232/345
3 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/189/273

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :291 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

31
โอฆะ1(ห้วงน้ำ) 4

1. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม)
2. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
3. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ)
4. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)

32
โยคะ2(สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ) 4

1. กามโยคะ (โยคะคือกาม)
2. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
3. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ)
4. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)

33
วิสังโยคะ3(ความพราก) 4

1. กามโยควิสังโยคะ (ความพรากจากกามโยคะ)
2. ภวโยควิสังโยคะ (ความพรากจากภวโยคะ)
3. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความพรากจากทิฏฐิโยคะ)
4. อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความพรากจากอวิชชาโยคะ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) 18/238/239
2 ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/937/588
3 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/10/17

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :292 }