เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

24
การสมาทานธรรม1(การถือปฏิบัติธรรม) 4

1. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
2. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
3. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
4. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต

25
ธรรมขันธ์2 4

1. สีลขันธ์ (กองศีล) 2. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
3. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) 4. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ)

26
พละ 4

1. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) 2. สติพละ (กำลังคือสติ)
3. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) 4. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

27
อธิษฐาน(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) 4

1. ปัญญาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือปัญญา)
2. สัจจาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือสัจจะ)
3. จาคาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือจาคะ)
4. อุปสมาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคืออุปสมะ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/475/423
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/58/223

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :290 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

28
[312] ปัญหาพยากรณ์1 4

1. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว)
2. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม)
3. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ)
4. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)

29
กรรม2 4

1. กรรมดำ มีวิบากดำ
2. กรรมขาว มีวิบากขาว
3. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว
4. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

30
สัจฉิกรณียธรรม3(ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง) 4

1. ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ
2. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ
3. วิโมกข์ 8 ควรทำให้แจ้งด้วยกาย
4. ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/42/70
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/232/345
3 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/189/273

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :291 }