เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

21
ปฏิปทา1 4

1. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า)
2. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
3. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
4. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว)

22
ปฏิปทา2 4 อีกนัยหนึ่ง

1. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน)
2. ขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่อดทน)
3. ทมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ)
4. สมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ระงับ)

23
ธรรมบท3 4

1. ธรรมบทคืออนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
2. ธรรมบทคืออพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
3. ธรรมบทคือสัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
4. ธรรมบทคือสัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/161/226
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/164/230
3 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/29/46

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :289 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

24
การสมาทานธรรม1(การถือปฏิบัติธรรม) 4

1. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
2. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
3. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
4. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต

25
ธรรมขันธ์2 4

1. สีลขันธ์ (กองศีล) 2. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
3. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) 4. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ)

26
พละ 4

1. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) 2. สติพละ (กำลังคือสติ)
3. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) 4. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

27
อธิษฐาน(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) 4

1. ปัญญาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือปัญญา)
2. สัจจาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือสัจจะ)
3. จาคาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือจาคะ)
4. อุปสมาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคืออุปสมะ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/475/423
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/58/223

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :290 }