เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

18
วิญญาณฐิติ 4

1. วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็น
อารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้
2. วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ...
3. วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ...
4. วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม
ไพบูลย์ได้

19
การถึงอคติ1(ความลำเอียง) 4

1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)
2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง)
4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)

20
เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา2 4

1. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ
2. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
3. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
4. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่าเป็นเหตุ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/17/29
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/9/15

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :288 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

21
ปฏิปทา1 4

1. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า)
2. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
3. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
4. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว)

22
ปฏิปทา2 4 อีกนัยหนึ่ง

1. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน)
2. ขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่อดทน)
3. ทมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ)
4. สมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ระงับ)

23
ธรรมบท3 4

1. ธรรมบทคืออนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
2. ธรรมบทคืออพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
3. ธรรมบทคือสัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
4. ธรรมบทคือสัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/161/226
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/164/230
3 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/29/46

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :289 }