เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

3. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง
ปฏิบัติสมควร ได้แก่ พระอริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่การ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก’
4. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท อันท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ

15
สามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) 4
1. โสดาปัตติผล 2. สกทาคามิผล
3. อนาคามิผล 4. อรหัตตผล

16
ธาตุ1 4
1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) 2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

17
อาหาร 4
1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ทั้งหยาบและละเอียด
2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
(ตกหล่น 4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) - ธัมมโชติ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/177/249

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :287 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

18
วิญญาณฐิติ 4

1. วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็น
อารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้
2. วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ...
3. วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ...
4. วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม
ไพบูลย์ได้

19
การถึงอคติ1(ความลำเอียง) 4

1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)
2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง)
4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)

20
เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา2 4

1. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ
2. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
3. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
4. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่าเป็นเหตุ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/17/29
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/9/15

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :288 }