เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

3. ทุกขนิโรธญาณ (ความรู้ในความดับแห่งทุกข์)
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์)

13
[311] องค์แห่งการบรรลุโสดาบัน1 4

1. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
2. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)
3. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)

14
องค์แห่งพระโสดาบัน2 4
พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
2. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระ
ธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/248/368
2 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/159/103, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/52/86-87

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :286 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

3. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง
ปฏิบัติสมควร ได้แก่ พระอริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่การ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก’
4. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท อันท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ

15
สามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) 4
1. โสดาปัตติผล 2. สกทาคามิผล
3. อนาคามิผล 4. อรหัตตผล

16
ธาตุ1 4
1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) 2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

17
อาหาร 4
1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ทั้งหยาบและละเอียด
2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
(ตกหล่น 4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) - ธัมมโชติ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/177/249

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :287 }