เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

3. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วย
เสนาสนะตามแต่จะได้นั้น ไม่มีการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะเสนาสนะ
เป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่
หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
และไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้นั้น
ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้
กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
4. มีปหานะ (การละ) เป็นที่ยินดี ยินดีในปหานะ มีภาวนาเป็นที่ยินดี
ยินดีในภาวนาและไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ยินดี
ยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี ยินดีในภาวนานั้น
ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในปหานะและ
ภาวนานั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
เป็นของเก่า

10
[310] ปธาน14

1. สังวรปธาน (เพียรระวัง)
2. ปหานปธาน (เพียรละ)
3. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/14/24-26

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :283 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

สังวรปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ1 ไม่แยกถือ2 ย่อม
ปฏิบัติเพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาป
อกุศลธรรม คืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์
ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ...
ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อ
ไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า สังวรปธาน
ปหานปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีวิหิงสาวิตกที่
เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้
หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า ปหานปธาน
ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความระลึกได้) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ3 น้อมไปในโวสสัคคะ
เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) ... เจริญ

เชิงอรรถ :
1 รวบถือ (นิมิตฺตคฺคาหี) คือมองภาพรวม โดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่น
หอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ. 1352/
456-457)
2 แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี) คือ มองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไป ด้วยอำนาจกิเลส เช่นเห็นมือ เท้า ว่าสวย
หรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้าย แลขวา ว่าน่ารัก หรือไม่น่ารัก ถ้าเห็นว่า
สวยน่ารัก ก็เป็นอิฏฐารมณ์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารัก ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. 1352/456-457)
3 วิเวก (ความสงัด) วิราคะ (ความคลายกำหนัด) นิโรธ (ความดับ) ทั้ง 3 คำนี้ เป็นชื่อเรียกนิพพาน
(องฺ.จตุกฺก.อ. 2/14/292)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :284 }