เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

53
โมเนยยะ1(ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) 3

1. กายโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย)
2. วจีโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา)
3. มโนโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ)

54
โกสัลละ2(ความเป็นผู้ฉลาด) 3

1. อายโกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ)
2. อปายโกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม)
3. อุปายโกสัลละ3 (ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย)

55
มทะ(ความมัวเมา) 3

1. อาโรคยมทะ (ความมัวเมาในความไม่มีโรค)
2. โยพพนมทะ (ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว)
3. ชีวิตมทะ (ความมัวเมาในชีวิต)

56
อธิปไตย4 3

1. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่)
2. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
3. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/123/369
2 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/771/505
3 อุปายโกสัลละ หมายถึงปัญญาที่รู้จักวิธีทำการงานทั้งฝ่ายเสื่อมและฝ่ายเจริญ (ที.ปา.ฏีกา 305/270)
4 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/40/201

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :274 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

57
กถาวัตถุ 3

1. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้ว ได้มีแล้วอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอดีต
2. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังมาไม่ถึง จักมีอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอนาคต
3. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ปรารภกาล
ส่วนปัจจุบันนี้

58
วิชชา1 3

1. วิชชาคือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้)
2. วิชชาคือจุตูปปาตญาณ (ความหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)
3. วิชชาคืออาสวักขยญาณ (ความหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย)

59
วิหารธรรม(ธรรมเป็นเครื่องอยู่) 3

1. ทิพพวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพ)
2. พรหมวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม)
3. อริยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ)

60
ปาฏิหาริย์2 3

1. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/60/230-231
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/61/234

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :275 }