เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

2. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาที่รู้ทั่วถึงได้แก่ โสดาปัตติ-
ผลญาณ)
3. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)

46
จักขุ1 3

1. มังสจักขุ (ตาเนื้อ)
2. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์)
3. ปัญญาจักขุ (ตาคือปัญญา)

47
สิกขา2 3

1. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
2. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)
3. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)

48
ภาวนา3 3

1. กายภาวนา (การอบรมกาย)
2. จิตตภาวนา (การอบรมจิต)
3. ปัญญาภาวนา (การอบรมปัญญา)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) 29/11/55
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/82/309
3 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/79/145

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า:272 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

49
อนุตตริยะ 3
1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
2. ปฏิปทานุตตริยะ (การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม)
3. วิมุตตานุตตริยะ (การหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม)

50
สมาธิ1 3

1. สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร)
2. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
3. อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกและไม่มีวิจาร)

51
สมาธิ2 3 อีกนัยหนึ่ง

1. สุญญตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาเห็นความว่าง)
2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาธรรมอันไม่มีนิมิต)
3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)

52
โสเจยยะ3(ความสะอาด) 3

1. กายโสเจยยะ (ความสะอาดทางกาย)
2. วจีโสเจยยะ (ความสะอาดทางวาจา)
3. มโนโสเจยยะ (ความสะอาดทางใจ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/184/409
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/184/409
3 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/121/366

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :273 }