เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

42
ปัญญา 3

1. เสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษา)
2. อเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา)
3. เนวเสขานาเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็มิใช่
ผู้ไม่ต้องศึกษาก็มิใช่)

43
ปัญญา1 3 อีกนัยหนึ่ง

1. จินตามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการคิด)
2. สุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)
3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)

44
อาวุธ2 3

1. สุตาวุธ (อาวุธคือสุตะ)
2. ปวิเวกาวุธ (อาวุธคือปวิเวก)
3. ปัญญาวุธ (อาวุธคือปัญญา)

45
อินทรีย์3 3

1. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรม
ที่ยังมิได้รู้)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/768/503-504
2 อาวุธ แปลว่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกันหรือต่อสู้ ในที่นี้หมายถึงอาวุธในทางธรรม 3 ประการ คือ (1) สุตะ
หมายถึงพระพุทธพจน์ (2) ปวิเวกะ หมายถึงวิเวก(ความสงัด) 3 ประการ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และ
อุปธิวิเวก (3) ปัญญา หมายถึงปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ
3 ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) 19/493/303, อภิ.วิ. (แปล) 35/220/201-202

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :271 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

2. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาที่รู้ทั่วถึงได้แก่ โสดาปัตติ-
ผลญาณ)
3. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)

46
จักขุ1 3

1. มังสจักขุ (ตาเนื้อ)
2. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์)
3. ปัญญาจักขุ (ตาคือปัญญา)

47
สิกขา2 3

1. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
2. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)
3. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)

48
ภาวนา3 3

1. กายภาวนา (การอบรมกาย)
2. จิตตภาวนา (การอบรมจิต)
3. ปัญญาภาวนา (การอบรมปัญญา)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) 29/11/55
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/82/309
3 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/79/145

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า:272 }