เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

40
กามุปปัตติ(การเกิดในกามภพ) 3
1. สัตว์ที่มีกามปรากฏเฉพาะหน้ามีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของ
กามทั้งหลายที่ปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เช่น มนุษย์ เทพบางพวกและ
วินิปาติกะบางพวก1 นี้เป็นกามุปปัตติที่ 1
2. สัตว์ที่เนรมิตกามคุณได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเนรมิตแล้ว เป็นไปตามอำนาจ
ของกามทั้งหลาย เช่น พวกเทพชั้นนิมมานรดี นี้เป็นกามุปปัตติที่ 2
3. สัตว์ที่ผู้อื่นเนรมิตกามคุณให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของ
กามคุณที่ผู้อื่นเนรมิตให้แล้ว เช่น พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี นี้เป็น
กามุปปัตติที่ 3

41
การเข้าถึงความสุข 3
1. สัตว์พวกที่ทำความสุขให้เกิดขึ้น ๆ แล้วอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพ
ชั้นพรหมกายิกา นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ 1
2. สัตว์พวกที่เอิบอิ่ม อิ่มเอม บริบูรณ์ เปี่ยมล้นด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์
เหล่านั้นบางครั้งบางคราวก็เปล่งอุทานว่า ‘สุขหนอ ๆ’ เช่น พวกเทพ
ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ 2
3. สัตว์พวกที่เอิบอิ่ม อิ่มเอม บริบูรณ์ เปี่ยมล้นด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์
เหล่านั้นยินดีเสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพ
ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ 3

เชิงอรรถ :
1 วินิปาติกะบางจำพวก หมายถึงสัตว์จำพวกปลาและเต่า เป็นต้นที่มีที่อยู่ประจำของตน ยกเว้นสัตว์นรก
(ที.ปา.อ. 305/196)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :270 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

42
ปัญญา 3

1. เสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษา)
2. อเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา)
3. เนวเสขานาเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็มิใช่
ผู้ไม่ต้องศึกษาก็มิใช่)

43
ปัญญา1 3 อีกนัยหนึ่ง

1. จินตามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการคิด)
2. สุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)
3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)

44
อาวุธ2 3

1. สุตาวุธ (อาวุธคือสุตะ)
2. ปวิเวกาวุธ (อาวุธคือปวิเวก)
3. ปัญญาวุธ (อาวุธคือปัญญา)

45
อินทรีย์3 3

1. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรม
ที่ยังมิได้รู้)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/768/503-504
2 อาวุธ แปลว่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกันหรือต่อสู้ ในที่นี้หมายถึงอาวุธในทางธรรม 3 ประการ คือ (1) สุตะ
หมายถึงพระพุทธพจน์ (2) ปวิเวกะ หมายถึงวิเวก(ความสงัด) 3 ประการ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และ
อุปธิวิเวก (3) ปัญญา หมายถึงปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ
3 ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) 19/493/303, อภิ.วิ. (แปล) 35/220/201-202

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :271 }