เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

14
ธาตุ 3 อีกนัยหนึ่ง

1. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
2. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)
3. นิโรธธาตุ (ธาตุคือนิโรธ)

15
ธาตุ1 3 อีกนัยหนึ่ง

1. หีนธาตุ (ธาตุอย่างหยาบ)
2. มัชฌิมธาตุ (ธาตุอย่างกลาง)
3. ปณีตธาตุ (ธาตุอย่างประณีต)

16
ตัณหา 3

1. กามตัณหา2 (ความทะยานอยากในกาม)
2. ภวตัณหา3 (ความทะยานอยากในภพ)
3. วิภวตัณหา4 (ความทะยานอยากในวิภพ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/77/300-301
2 กามตัณหา หมายถึงราคะที่มีกามคุณ 5 เป็นอารมณ์ (ที.ปา.อ. 305/182, ที.ปา.ฏีกา 305/235)
3 ภวตัณหา หมายถึงราคะในรูปภพและอรูปภพ ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ หรือความปรารถนาภพ
(ที.ปา.อ. 305/182)
4 วิภวตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ที.ปา.อ. 305/182)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :263 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

17
ตัณหา 3 อีกนัยหนึ่ง

1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามภพ)
2. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปภพ)
3. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปภพ)

18
ตัณหา1 3 อีกนัยหนึ่ง

1. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปภพ)
2. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปภพ)
3. นิโรธตัณหา2 (ความทะยานอยากในความดับสูญ)

19
สังโยชน์3 3

1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
2. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)

20
อาสวะ4 3

1. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
2. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
3. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/918/574
2 นิโรธตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ที่ถือว่าภพ คือ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นเทพ
ชั้นกามาวจร ความเป็นเทพชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร ขาดสูญ (ที.ปา.อ. 305/182, ที.ปา.ฏีกา
305/236)
3 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/95/328
4 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/914/571

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า:264 }