เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

10
กุศลสัญญา 3

1. เนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากกาม)
2. อพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากพยาบาท)
3. อวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากการเบียดเบียน)

11
อกุศลธาตุ 3

1. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
2. พยาปาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
3. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)

12
กุศลธาตุ 3

1. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ)
2. อพยาปาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท)
3. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)

13
ธาตุ 3 อีกนัยหนึ่ง

1. กามธาตุ (ธาตุคือกามภพ)
2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
3. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :262 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

14
ธาตุ 3 อีกนัยหนึ่ง

1. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
2. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)
3. นิโรธธาตุ (ธาตุคือนิโรธ)

15
ธาตุ1 3 อีกนัยหนึ่ง

1. หีนธาตุ (ธาตุอย่างหยาบ)
2. มัชฌิมธาตุ (ธาตุอย่างกลาง)
3. ปณีตธาตุ (ธาตุอย่างประณีต)

16
ตัณหา 3

1. กามตัณหา2 (ความทะยานอยากในกาม)
2. ภวตัณหา3 (ความทะยานอยากในภพ)
3. วิภวตัณหา4 (ความทะยานอยากในวิภพ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/77/300-301
2 กามตัณหา หมายถึงราคะที่มีกามคุณ 5 เป็นอารมณ์ (ที.ปา.อ. 305/182, ที.ปา.ฏีกา 305/235)
3 ภวตัณหา หมายถึงราคะในรูปภพและอรูปภพ ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ หรือความปรารถนาภพ
(ที.ปา.อ. 305/182)
4 วิภวตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ที.ปา.อ. 305/182)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :263 }