เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

6
กุศลวิตก1 3

1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)

7
อกุศลสังกัปปะ 3

1. กามสังกัปปะ (ความดำริในทางกาม)
2. พยาปาทสังกัปปะ (ความดำริในทางพยาบาท)
3. วิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในทางเบียดเบียน)

8
กุศลสังกัปปะ2 3

1. เนกขัมมสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากกาม)
2. อพยาปาทสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากพยาบาท)
3. อวิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากการเบียดเบียน)

9
อกุศลสัญญา 3

1. กามสัญญา (ความกำหนดหมายในทางกาม)
2. พยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในทางพยาบาท)
3. วิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในทางเบียดเบียน)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/125/372
2 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/402/335

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :261 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

10
กุศลสัญญา 3

1. เนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากกาม)
2. อพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากพยาบาท)
3. อวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากการเบียดเบียน)

11
อกุศลธาตุ 3

1. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
2. พยาปาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
3. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)

12
กุศลธาตุ 3

1. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ)
2. อพยาปาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท)
3. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)

13
ธาตุ 3 อีกนัยหนึ่ง

1. กามธาตุ (ธาตุคือกามภพ)
2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
3. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :262 }