เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

สังคีติหมวด 3

[305] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ 3 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ 3 ประการ คืออะไร
คือ

1
อกุศลมูล1 3
1. อกุศลมูลคือโลภะ (ความอยากได้)
2. อกุศลมูลคือโทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. อกุศลมูลคือโมหะ (ความหลง)

2
กุศลมูล2 3
1. กุศลมูลคืออโลภะ (ความไม่อยากได้)
2. กุศลมูลคืออโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
3. กุศลมูลคืออโมหะ (ความไม่หลง)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/70/275
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/70/277

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :259 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

3
ทุจริต1 3

1. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)2
2. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
3. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)

4
สุจริต3 3

1. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
2. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
3. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)

5
อกุศลวิตก4 3

1. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
2. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
3. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/2/140
2 อีกนัยหนึ่งแปลว่า ความประพฤติชั่วที่เป็นไปทางกาย หรือความประพฤติชั่วทางกายก็ได้ (ที.ปา.อ.
305/179)
3 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/2/141
4 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/125/372

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :260 }