เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 2

25
1. ปัคคหะ (ความเพียร)
2. อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน)

26

1. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
2. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)1

27

1. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล)
2. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)2

28

1. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล)
2. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)3

29

1. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
2. ยถาทิฏฐิปธานะ (ความเพียรที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ)4

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/174/128
2 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/175/128
3 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/176/128
4 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/177/128

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :257 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 2

30

1. สังเวชนีเยสุ ฐาเนสุ สังเวคะ (ความสลดใจในที่ที่ควรสลดใจ)
2. สังวิคคัสสะ โยนิโส ปธานะ (ความเพียรโดยแยบคายของผู้มีความสลดใจ)

31

1. กุสเลสุ ธัมเมสุ อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย)
2. ปธานัสมิง อัปปฏิวานิตา (ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร)1

32

1. วิชชา (ความรู้แจ้ง)
2. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)2

33

1. ขยญาณ (ความรู้ในการสิ้นกิเลส)
2. อนุปปาทญาณ (ความรู้ในการไม่เกิดกิเลส)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ 2 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่
คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด 2 จบ